top of page

ดูแลร่างกายอย่างถูกต้อง

"บางครั้งการเปลี่ยนอาหารที่กินก็ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของร่างกายมากขึ้น

คำแนะนำดังต่อไปนี้จะช่วยให้คุณดูแลร่างกายได้ดีขึ้น"

นอกจากอาหารที่กินแล้ว มีหลายปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าหรืออ่อนเพลียตลอดเวลา ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น

รวมไปถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด ภาวะร่างกายขาดน้ำ เชื้อไวรัสที่ติดมา ปัญหาเรื่องหูหรือตา ปัจจัยต่างๆ

ด้านจิตวิทยา และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหมายความว่าเวลาเราเปลี่ยนอาหารที่กิน เรามักสนใจและให้ความสำคัญกับร่างกาย

มากขึ้น และบางครั้งจะเชื่อมโยงอาการต่างๆ ที่มี (หรือเพิ่งมี) เข้ากับอาหาร

ลองพิจารณาข้อแนะนำดังต่อไปนี้

ดูให้แน่ใจว่าคุณกินอาหารหลากหลายและสมดุล ซึ่งประกอบไปด้วย
- พืชที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น ถั่วชนิดต่างๆ (ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วขาว ถั่วดำ ถั่วลันเตา ถั่วลูกไก่ ถั่วปากอ้า ถั่วเลนทิล ฯลฯ)

ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง (เต้าหู้ ถั่วแระ เทมเปหรือถั่วเหลืองหมัก โปรตีนเกษตร นมถั่วเหลือง ฯลฯ) หมี่กึง (เนื้อเทียม

ที่ทำจากโปรตีนข้าวสาลี) คีนัว เป็นต้น
- ธัญพืชต่างๆ (โดยเฉพาะแบบไม่ขัดสี) เช่น ข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี (ขนมปัง ขนมปังกรอบ พาสตา ซีโมลินา บัลเกอร์) ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต บัควีท เป็นต้น
- ผักและผลไม้ชนิดต่างๆ
- ถั่ว เมล็ดพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ และผลิตภัณฑ์ทาขนมปังที่ทำจากถั่ว/งา/ฯลฯ เช่น เนยถั่ว เนยงา เป็นต้น

กินวิตามินบี12 เสริม ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้อยู่ภาวะที่ขาดวิตามินนี้ เพราะเป็นวิตามินที่สำคัญมาก (อย่างไรก็ตาม ควรมีการตรวจเลือดเพื่อให้รู้ว่าคุณควรกินมากน้อยหรือบ่อยแค่ไหน)

ดูให้แน่ใจว่าคุณได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ มีพืชมากมายหลายชนิดที่เป็นแหล่งของธาตุเหล็ก ตัวอย่างเช่น ถั่วต่างๆ

ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง ผักใบเขียวบางชนิด บรอคโคลี่ ซีเรียลที่เสริมธาตุเหล็ก ธัญพืชไม่ขัดสี เนยเมล็ดงา (แบบไม่ขัดเมล็ด) กากน้ำตาล

ผลไม้แห้ง

ร่างกายจะดูดซีมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น หากกินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี (ผักผลไม้สด) ควบคู่ไปกับอาหารที่มีธาตุเหล็ก

แช่ถั่วให้นิ่มหรือเพาะถั่วให้งอกก่อนกินหรือก่อนนำไปปรุงอาหาร และหลีกเลี่ยงการกินชา กาแฟ และช็อคโกแลต

พร้อมกับอาหารที่มีธาตุเหล็ก

ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยประมาณ 8-10 แก้วสำหรับผู้หญิง และประมาณ 10-12 แก้วสำหรับผู้ชาย

พยายามนอนหลับให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน

ตรวจเลือดเพื่อตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ธาตุเหล็ก เฟอร์ริติน (เป็นโปรตีนที่มีหน้าที่ขนส่งธาตุเหล็ก โดยพบได้

ทั่วร่างกาย แต่จะสำคัญมากเมื่ออยู่ในเลือด ด้วยความที่เฟอร์ริตินทำหน้าที่ขนส่งธาตุเหล็ก และธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมลบินในเม็ดเลือดแดง ถ้ามีน้อยเกินไปก็จะทำให้เกิดภาวะซีดได้ การที่มีเฟอร์ริตินสูงหรือต่ำจึงสามารถบอกภาวะธาตุเหล็กเกินหรือขาดได้) วิตามินบี12 กรดโฟลิค และฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ ทั้งนี้ในช่วง 2-3 เดือนแรกที่คุณเพิ่งเริ่มกิน

อาหารวีแกน แม้ว่ากินอาหารไม่ค่อยสมดุล แต่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ นี้ไม่สามารถทำให้คุณมีภาวะขาดสารอาหารอะไรได้

เพราะฉะนั้นหากผลตรวจเลือดบอกว่ามีสารอาหารบางอย่างต่ำกว่าที่ควร มีความเป็นไปได้สูงมากว่าคุณจะขาดสารอาหาร

เหล่านั้นอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนมากินอาหารวีแกน

ควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำหากคุณมีโรคประจำตัว กินยาประจำ หรือต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

bottom of page